หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูง องค์กรต้องปรับตัวหลายๆ ด้านเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด กลยุทธ์ที่สามารถทำได้ผลดีคือ การลดต้นทุนความสูญเสียและความสูญเปล่าในกระบวนการ ซึ่งความสูญเสียที่เป็นสาเหตุที่ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่สุดในกระบวนการคือ ความผิดพลาดของพนักงาน (Error) ส่วนความสูญเปล่า (Waste)การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และส่งมอบได้ทันเวลา สามารถทำให้องค์การลดความสูญเสีย ทุกรูปแบบในกระบวนการทำงานทุกสายงาน ซึ่งหากไม่ให้ความสนใจสังเกต และพยายามปรับปรุง แก้ไขวิธีการท างานนั้นๆ ให้ดีขึ้น ความสูญเสียก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้หน่วยงานหรือองค์กรต้องสูญเสียลูกค้าและกำไรที่ควรได้ไป การลดความสูญเสียถือเป็นหน้าที่ของพนักงานและผู้บริหารทุกคน ดังนั้น ทุกคนต้องมีความรู้และมี จิตสำนึก การสังเกต หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขป้องกัน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตเพื่อความอยู่รอด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการทำงาน
2. เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจเทคนิคการสังเกตลดความสูญเปล่า ด้วย 3MU
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน
4. เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในกระบวนการ ด้วยแนวคิดในการกำจัดแบบ3 MU (MUDA MURA MURI)
กลุ่มเป้าหมาย
-พนักงานทุกระดับ หัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือผู้ที่สนใจ
รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร
1. ความหมายของความสูญเสีย
2. ประเภทของความสูญเสีย
MUDAความสูญเปล่าในกระบวนการ (Waste)
MURAความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นในกระบวนการ (Unevenness)
MURIการทำงานเกินกำลังของคน เครื่องจักร และอุปกรณ์ (Overburden)
3. พื้นฐานของการสร้างจิตสำนึกการลดความสูญเปล่า
4. การประยุกต์ใช้คุณค่าภายในตนเอง (Value) เพื่อลดความสูญเปล่า
5. Workshop I:การพัฒนาศักยภาพในการลดความสูญเปล่าของตนเอง
6. หลักการสำคัญของแนวคิดMUDA MURA MURI
7. แนวคิดและเป้าหมายของการปรับปรุงด้วยลีน (Lean Thinking)
8. การกำจัด3 MU (Elimination of Muda Mura Muri)
9. Workshop II:ค้นหาMuda / Mura / Muriในกระบวนการทำงาน
10. เครื่องมือ / เทคนิคการค้นหาและลดความสูญเปล่าในกระบวนการ
วิธีการฝึกอบรม
-การบรรยายและการฝึกปฏิบัติโดยใช้กรณีศึกษา และนำเสนอผลงาน
อุปกรณ์ที่ใช้ :Other
-LCD - Flip Chart - Microphone - Classroom and Workshop
วิทยากร อาจารย์พลกฤต โสลาพากุล