การคิดเชิงระบบ (System Thinking)

31 พฤษภาคม 2567

หลักการและเหตุผล

การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)ผู้ที่เริ่มพูดถึงแนวคิดนี้เป็นคนแรก คือBertalanfy นักชีววิทยา ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และพัฒนาไปสู่สาขาอื่น ๆ เช่น ฟิสิกส์ เริ่มมาจากการตั้งข้อสันนิษฐาน (Thesis) แล้วมีข้อขัดแย้งของสันนิษฐานนั้น ๆ เกิดขึ้นแต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด ดังนั้นจึงเกิดการสังเคราะห์ (Synthesis)สิ่งใหม่ และสิ่งเหล่านี้ได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ความรู้ต่าง ๆ จะพัฒนาเป็นแบบนี้ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทุกอย่างเคลื่อนไหว ไม่แน่นอน วิธีคิดแบบนี้มีมานานแล้ว ทุกอย่างมีมูลเหตุ ความรู้เรื่องทฤษฎีระบบเป็นการมองโลกแบบองค์รวม ดังนั้น ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์จากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่

การคิดเชิงระบบ หมายถึง วิธีการคิดอย่างมีเหตุผล ทำให้ผลของการคิด หรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว (Seddon)

การคิดเชิงระบบ เป็นการคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบย่อย โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดยตรง และโดยทางอ้อม ทฤษฎีระบบให้แนวคิดว่า ทุกสิ่งล้วนย่อมอยู่ในเอกภพ รวมทั้งสิ่งเล็กหรือใหญ่ ล้วนเป็นระบบมีวงจรการทำงาน ปัจจัย กระบวนการ เกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ แต่ละหน่วยย่อมมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กันในเวลาเดียวกัน (Gharajedaghi)

อีกทั้งเป็นการคิดที่มีความเข้าใจ เชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน ในสมองคนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถในการทำได้ดีในระดับความเข้มข้นของระบบแตกต่างกัน (Ackoff)

การคิดเชิงระบบ เป็นการมุ่งมองสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวม เป็นกรอบการทำงาน ที่มองแบบแผนและความเกี่ยวพันกัน สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษคือการมองโลกแบบองค์รวมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การคิดเป็นระบบทำให้ความซับซ้อนเป็นสิ่งที่สามารถจัดการได้ (Senge, 1993: 6)

การพัฒนาบุคคลากรให้มีระบบการคิดเชิงระบบ จะช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพ การทำงานต่างๆ ในภาพ ใหญ่ขององค์กรสอดคล้อง สัมพันธ์กันด้วยระบบที่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กันรวมเป็นหนึ่ง เดียวกัน  การคิดเชิงระบบจะไม่มองเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่จะมองภาพใหญ่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็น ปัญหาระดับองค์กร แล้ว แก้ปัญหาทั้งในภาพใหญ่และภาพย่อย เชื่อมโยง สร้างสรรค์และทำงานเป็นทีมอย่างเป็น ระบบ  แล้วสามารถพัฒนาต่อเป็น"องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)"แล้วต่อยอดเป็น องค์กร นวัตกรรม (Innovation Organization) ได้ 

         โดยการจะสร้างองค์กรนวัตกรรม (Innovation  Organization)นั้น จุดเริ่มต้นเริ่มจากตัวบุคคล ทีมงาน และองค์กร ดังนั้นการส่งเสริมให้  บุคคลากรในองค์มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้ง ในความคิดเชิงระบบ ความสามารถที่เป็นเลิศ  ส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีม และการมองเห็นภาพวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทั้งองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญ

 วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงระบบ และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงระบบ

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงระบบ และสามารถนำไปใช้งานได้

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงระบบ

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

  

หัวข้อการอบรม

Module 1: ความหมายของการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

§ การคิดเชิงระบบจะเกิดขึ้นเมื่อใด

§ เพราะอะไรเราจึงต้องใช้การคิดเชิงระบบ

§ ความหมายของคำว่าการคิดเชิงระบบ

§ องค์ประกอบของการคิดเชิงระบบ

§ การคิดเชิงระบบกับการทำงาน

§ ความสำคัญของ การคิดเชิงระบบ กับการพัฒนาตนเอง

§ องค์ประกอบของความคิด ที่มาของความคิด

§ กระบวนการของความคิด ให้ได้มาซึ่งการคิดเชิงระบบ

Module 2:การแบ่งรูปแบบการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

§ ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน

§ การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ20/80ของพาเรโต้

§ เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่และแนวคิดใหม่กับแนวคิดเชิงระบบ

§ วิเคราะห์กระบวนการของการคิดเชิงระบบเพื่อนำไปใช้

 Module 3: ขั้นตอนของความคิดเชิงระบบ

§ ยอมรับตนเองและเปลี่ยนใจตนเองให้ได้ว่าตนคือส่วนประกอบที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ

§ ฝึกการมองภาพรวมแทนสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยมองย้อยกลับ

§ เข้าใจธรรมชาติของระบบ และทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นระบบสัมพันธ์กัน

§ มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อระบบ

§ มองเห็นวัฏจักรของเหตุปัจจัย (Circles of Causality )และการส่งผลย้อนกลับ

§ เปิดอิสระในเรื่องการคิด ไม่ตีกรอบ ครอบงำความคิดคนอื่น

§ ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนเกิดแรงร่วมในการสร้างความสัมพันธ์

§ ฝึกการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุแท้ โดยแก้ที่อาการ ที่ทำให้ เกิดปัญหา

§ ยึดหลักการเรียนรู้ในองค์กรเป็นส่วนประกอบ คือ การเป็นนายตนเอง ลบความเชื่อฝังใจ แต่อดีต สร้างความใฝ่ฝันถึงอนาคตร่วมกัน (Shared Vision )และฝึกการเรียนรู้ของทีม

 Module 4: การขยายขอบเขตการคิดเชิงระบบ เป็นการขยายมุมมอง5ด้าน

1.การมององค์รวม (Holistic view )

2.มองสหวิทยาการ หลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน

3.มองอย่างอุปมา อุปนัย เป็นการมองขยายกรอบความคิด

4.มองประสานขั้วตรงกันข้าม เป็นการมองแนวคิดหนึ่งปฏิเสธแนวคิดหนึ่ง

5.มองทุกฝ่ายมองทุกฝ่ายชนะWIN-WIN ครอบคลุมความพอใจทุกฝ่าย

  ภาพรวมของการคิดที่ใช้ร่วมกับการคิดเชิงระบบ

  กระบวนการคิด (Thinking Process)

  ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

  ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)

  ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)

  ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

  การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

 กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming)ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

  เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  หลักการคิดด้วยมิติ4ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)

  การดักจับความคิด (Idea spotting)

  กระบวนการจัดลำดับความคิด

  เทคนิค "สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น...ถ้ามันเป็นอย่างนี้...แล้วจะทำอย่างไร"

  เทคนิค "ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่...หรือสิ่งที่เป็นอยู่"


  เทคนิค "ตรงกันข้าม"

  เทคนิค "Mind Map"


 ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงระบบ และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


วิทยากร

อาจารย์อนุภาพ พันชำนาญ 



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรม แรมแบรนท์ ซอยสุขุมวิท 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

31 พฤษภาคม 2567 09.00-16.00

จัดโดย

Hrdzenter Training
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554, 090-645-0992

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 199 ครั้ง