การควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคทางสถิติ SPC: Statistical Process Control

6 มิถุนายน 2567


หลักการและเหตุผล

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการบริการ หรืออุตสาหกรรมการผลิต การควบคุมเชิงสถิติ ถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะถ้าต้องทำการยืนยันคุณภาพหรือความถูกต้องด้วยการตรวจสอบ100% หรือ200%รับรองได้ว่า ล่าช้าไม่ทันการส่งงานต่อลูกค้า และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอย่างมากมายรวมถึงในอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบันหลาย ๆ องค์กรที่นำสถิติมาใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตก็ยังพบปัญหาต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับเครื่องมือดังกล่าว เช่น

·        เลือกใช้เครื่องมือทางสถิติยังไม่ถูกต้อง

·        วิเคราะห์สัญญาณ(Signal) เชิงสถิติไม่เป็น

·        เลือกใช้Control Chartไม่เหมาะสมกับลักษณะงาน

·        วิเคราะห์หรือประเมินCp, Cpk, Pp, PPkไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ

ดังนั้นทักษะในการบริหารจัดการในเรื่องการใช้เครื่องมือในเชิงสถิติเพื่อการควบคุมกระบวนการนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการได้โดยบรรลุตามเป้าหมายที่องค์กรคาดหวัง อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น

 

·        ลูกค้าไว้ใจและมีความเชื่อมั่นต่อองค์กร

·        ลดต้นทุนจากการตรวจสอบ

·        ป้องกันปัญหาได้ทันท่วงที ซึ่งทำให้ช่วยลดความรุนแรงของความเสียหายได้

ดังนั้นการเรียนรู้หลักสูตรนี้อย่างถ่องแท้และฝึกฝนตนเองจนเกิดเป็นทักษะที่ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้รับผิดชอบงานในลักษณะดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

·      มีความรู้เกี่ยวกับSPC ตามแนวทางของมาตรฐานสากล (AIAG)

·      ประยุกต์ใช้Control Chartได้

·      อ่านค่าControl Chartเป็น

·      รู้จักอาการOut of Control Signal

·      ศึกษาและประเมินCp, Cpk, Pp, PPkได้อย่างถูกต้อง

·      มีความเข้าใจตรงกันกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคนที่เกี่ยวข้อง

·      สามารถประสานงานกับลูกค้าได้อย่างเข้าใจตรงกันและสัมฤทธิ์ผล

หัวข้อเรียนรู้ :   

·     ความสัมพันธ์ระหว่างSPCกับISO/TS16949:2009

·     ความสัมพันธ์ระหว่างSPCกับAPQP, FMEA, Control Plans, MSA and PPAP

·     ความสัมพันธ์ระหว่างSPCกับCSR (Customer Specific Requirements)

·     พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับสถิติ

·     ความเข้าใจเกี่ยวกับค่าX-bar, R, Sd, Sigma

·     แผนควบคุม (Control Chart)

·     การเลือกใช้Control Chart

·     การคำนวณUCL, CL, LCL

·     การอ่านค่าและการตีความ

·     ค่าX-barกับค่าRนั้น สำคัญแตกต่างกันอย่างไร

·     การประเมินความสามารถของกระบวนการCp, Cpk, Pp, PPk

·     ความแตกต่างของCp, Cpk, Pp, PPk

·     ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

ระยะเวลา: ระยะเวลา 1 วัน

ระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น. (ลงทะเบียนเวลา 08.30-09.00 น.)

กลุ่มเป้าหมาย :

·     ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์,อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์,อุตสาหกรรมอื่นๆ

·     วิศวกรทุกส่วนงาน

·     หัวหน้างานQC/QA, R&D, New Model

·     ช่างเทคนิค

·     บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน



สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ @โรงแรม โกลด์ ออร์คิด สุทธิสาร-วิภาวดี กทม.

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

6 มิถุนายน 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 78 ครั้ง