วัตถุประสงค์ (Objective)
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความสูญเสียต่างๆ โดยไม่จำเป็น
5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความสูญเสียจากการทำงาน
เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
1.ปัญหาด้านคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตคืออะไร?
2.อะไรคือ ของเสีย (Defect) Vs.ความผิดพลาด (Mistake-Error)และมีปัจจัยเกิดขึ้นได้อย่างไร?
3.แนวคิดการเกิดของเสียและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดของเสีย
-แนวคิดและหลักการมุ่งสู่Zero Defect
- Zero Defectคืออะไร
-กลไกของการบรรลุเป้าหมายของเสียเป็นศูนย์
4.แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับการปรับปรุงงาน (Improvement)และการควบคุมสภาวะต่างๆ ในงานผลิต
· การวางแผนปรับปรุงงานด้วยPDCAและหลักการปรับปรุงงานเบื้องต้นด้วยECRS
· ระบบการมองเห็น (Visual System)
5.หลัก8ประการเบื้องต้น (8D)สู่การป้องกันความผิดพลาดเป็นศูนย์เพื่อให้ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)
6.กระบวนการตรวจสอบและดักจับความผิดพลาดที่ต้นเหตุ (Source inspection)ก่อนเกิดของเสีย
7.หลักการควบคุมไม่ให้เกิดความผิดพลาดและป้องกันความผิดพลาดจากการทำงาน (Mistake-Proofing)
8.แนวทางการจัดโปรแกรมปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement)
· ให้ผู้บริหารมีความผูกพันต่อการจัดการคุณภาพอย่างชัดเจน
· จัดตั้งทีมปรับปรุงคุณภาพโดยให้มีตัวแทนมาจากแต่ละฝ่าย
· กำหนดให้มีการวัดคุณภาพ เพื่อแสดงปัญหาที่เป็นอยู่ หรือเป็นปัญหาที่อาจเกิดได้ในอนาคต
· กำหนดต้นทุนคุณภาพและอธิบายวิธีการใช้ต้นทุนคุณภาพในฐานะที่ เป็นเครื่องมือในการจัดการ
· ยกระดับการตระหนักถึงระดับคุณภาพ และความห่วงใยส่วนตัวต่อชื่อเสียงคุณภาพของบริษัทให้เกิดกับพนักงาน
9.วิเคราะห์และทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาโดยรวม
· จัดการปัญหาที่เกิดจากมาตรฐานการทำงาน
· แนวทางจัดการปัญหาที่เกิดจากคน
· การอบรมผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำที่ถูกต้อง
· การควบคุมโดยการมองเห็นเพื่อการทำที่ถูกต้อง
· Poka Yokeเพื่อการผลิตของเสียเป็นศูนย์
· กำหนดเป้าหมาย และกระตุ้นให้บุคคลและกลุ่มกำหนดเป้าหมายการปรับปรุงคุณภาพ
· กระตุ้นให้พนักงานแจ้งปัญหาการปรับปรุงคุณภาพที่เขาประสบ แก่ ผู้บริหารเพื่อให้เกิดการรณรงค์แก้สาเหตุที่ผิดพลาดให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย
· ทำให้ทุกคนที่เข้าร่วมโปรแกรมยอมรับและเกิดความซาบซึ้ง
· จัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาคุณภาพ เพื่อปรึกษาหารือกันเป็นประจำ
· จัดทำโปรแกรมแบบเดิมซ้ำอีก
10.สรุปการเรียนรู้และถามตอบ