กฎหมายแรงงานมีจำนวนมาก และหลากหลายฉบับซึ่งเกี่ยวข้องกับวิถีการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล เกี่ยวข้องกับนายจ้าง ผู้ประกอบการและลูกจ้างในทุกประเภทอุตสาหกรรมและการบริการ หลักสูตรนี้จะนำท่านไป Update กฎหมายแรงงานและคำพิพากษาศาลฎีกาประเด็นเด็ดที่น่าสนใจอย่าง ละเอียด โดยจะอธิบายเชื่อมโยงไปถึงกฎหมาย PDPA ซึ่งจะมีผลใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรไทยเต็มรูปแบบ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 คือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาใน หลักสูตรดังกล่าวนี้จะมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการนำกฎหมายว่าด้วยแรงงานมาประยุกต์ ปรับใช้ ให้กลมกลืนกันกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
วิทยากรโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญกฎหมายแรงงานและกฎหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยและมาตรฐานระหว่างประเทศ พร้อมแล้วที่จะถ่ายทอดกฎหมายดังกล่าวไปสู่ภาคปฏิบัติซึ่งท่านสามารถนำ ไปใช้ได้จริงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล บริหารธุรกิจและบริหารจัดการองค์การให้สอดคล้องเป็นไปตามกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในภาคลูกจ้าง นายจ้างหรือผู้ใช้แรงงานนั้นหากกรณีมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างจะฟ้องศาลแพ่งก็ได้ แต่หากเป็นข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และมีเรื่องของการกระทำที่นายจ้างไปละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นประวัติการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาปฏิบัติงาน ข้อมูลทางด้านวินัย ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ เป็นต้น จะต้องนำข้อผิดพลาดดังกล่าวไปฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลแรงงานซึ่งทำให้เกิดความ กระชับและรวดเร็วมากกว่าการนำไปดำเนินคดีในศาลอื่นซึ่งมิใช่ศาลชำนัญพิเศษ
Learn More Point
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการนำกฎหมายว่าด้วยแรงงานมาประยุกต์ ปรับใช้ ให้กลมกลืนกันกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง
2. สามารถนำความรู้ทั้ง กม.แรงงาน และ กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไปประยุกต์ใช้ ปฏิบัติจริง ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารธุรกิจ บริหารจัดการองค์การให้สอดคล้องเป็นไปตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในภาคลูกจ้าง
Learn More Topics 09.00 -16.00 น.
1. ลักษณะของกฎหมายแรงงานและกฎหมายคุคุ้มครองข้อมลูส่วนบุคคลเป็นอย่างไร
2. การเลือกใช้ฐานกฎหมายทั้ง 7 ฐาน (7 Lawful Basis) ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีแนวทางในการเลือกใช้อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยแรงงาน
3. การจัดทำสัญญาจ้างแรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อควรระวังในสัญญาจ้างที่มักเกิดปัญหา
4. ประเด็นสัญญาจ้างแบบไหนที่ต้องการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีกลยุทธ์ในการปรับปรุงสัญญาจ้าง อย่างไรให้ถูกต้อง
5. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติการบริหารงานบุคคลขององค์การมีโทษถึงจำคุกเป็นอย่างไร มีกี่ประเภท และจะบริหารข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ละประเภทได้อย่างไร
6. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งของนายจ้างอย่างไรบ้าง และกรณีใดต้องขอความยินยอมหรือเปลี่ยนไปใช้ฐานสัญญาก็ได้
7. วันหยุด วันลา ต่างกันอย่างไร และ วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่เรียกว่าพักร้อน ลาไม่ได้จริงหรือ ลาแล้วจะกลายเป็นการลากรณีพิเศษนอกกฎหมายได้อย่างไร
8. ข้อมูลของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับการหยุดและการลา นายจ้างสามารถนำไปใช้ประมวลผลได้หรือไม่เพียงใด และต้องมีการทำลายทิ้งตามวงจรชีวิตของการเก็บ รวบรวม ใช้และเปิดเผยข้อมูลอย่างไร
9. ข้อกฎหมายกับวินัยและการลงโทษพนักงาน การร้องทุกข์ มีข้อมูลส่วนบุคคลกรณีใดบ้างที่ต้องได้รับการคุ้มครองในการนำไปประมวลผล
10. การเลิกจ้างมีกี่ประเภท และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า มีวิธีการอย่างไร
11. การลงโทษตัดเงินเดือน, หักเงินเดือน เพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างทำ ได้ไหม
12. การขาดงาน คืออะไร เลิกจ้างได้หรือไม่
13. การสั่งพักงาน มีกี่รูปแบบ ไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานได้หรือไม่ อย่างไร
14. บอกเลิกสัญญาจ้าง ต้องทำอย่างไร
15. ปัญหาการเลิกจ้างที่ถือว่าไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน
16. ข้อควรระวังเกี่ยวกับความผิด และบทลงโทษของนายจ้าง หัวหน้างาน และลูกจ้าง และความผิด 3 แบบตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ โทษทางแพ่ง ทางอาญา และโทษทางปกครอง ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสดุ 1 ปีและปรับสุด 5 ล้านบาทนั้น ใครได้รับผลกระทบบ้าง
• ท่านถาม อาจารย์ตอบ