กฎหมายคุ้มครองแรงงาน สำหรับนักบริหารทรัพยากรบุคคล

23 พฤษภาคม 2562

หัวข้อการบรรยาย

  • เจตนารมณ์แห่งกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  • การจ้างงาน และ สัญญาจ้างแรงงาน ( การจ้างงานเกิดขึ้นเมื่อไหร่ สัญญาจ้างแรงงานที่ดีต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ถ้าไม่มีการทำสัญญาจ้างแรงงานจะเป็นอย่างไร )
  • การทดลองงาน ( ควรกำหนดช่วงเวลาอย่างไรไม่ให้สุ่มเสี่ยงต่อการปฏิบัติที่ผิดกฏหมายหากไม่ผ่านทดลองงาน การต่อระยะเวลาการทดลองงานทำได้หรือไม่ ทำอย่างไรไม่ให้ขัดต่อข้อกฏหมาย )
  • หลักประกันการทำงาน ( นายจ้างจะกำหนดให้ลูกจ้างวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันการทำงานได้หรือไม่ หรือ กำหนดหลักประกันอย่างอื่นได้หรือไม่ หลักและวิธีการกำหนดหลักประกันการจ้างงานที่ไม่ขัดต่อข้อกฏหมายต้องทำอย่างไร )
  • ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาวันหยุด ( เงินจ่ายประเภทไหนที่จะถือเป็นค่าจ้าง ค่าจ้างขั้นต่ำคนไทยกับต่างด้าวนายจ้างต้องจ่ายเท่ากันหรือไม่ เงินเดือนขั้นต่ำมีหรือไม่ควรกำหนดอย่างไร เทคนิคในการกำหนดการจ่ายค่าจ้างและค่าล่วงเวลา หากลูกจ้างทำงานล่วงเวลาคาบเกี่ยวระหว่างวันหยุดต่อเนื่องไปจนถึงวันทำงานปรกตินายจ้างต้องจ่ายค่าลวงเวลาให้กับลูกจ้างอย่างไร )
  • การหักเงินค่าจ้างของลูกจ้าง (นายจ้างหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างจะทำได้หรือไม่อย่างไร และการหักเงินประเภทไหนที่ทำได้ ประเภทไหนที่ทำไม่ได้ หากจำเป็นต้องหักจะต้องทำอย่างไร)
  • การลางาน การขาดงาน (เทคนิคในการลาที่ไม่ขัดต่อกฏระเบียบบริษัท หากนายจ้างสืบทราบได้ว่าเหตุผลที่ขอลาป่วยนั้นพนักงานโกหกจะถือเป็นความผิดหรือไม่ พนักงานชั่วคราว พนักงานรายวัน พนักงานรายเดือน ได้รับสิทธิ์การลางานเท่ากันหรือไม่ การหยุดงานแบบไหนจึงถือเป็นการขาดงาน นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในวันขาดงานได้หรือไม่ การขาดงานอย่างไรเป็นเหตุให้เลิกจ้าง )
  • วันหยุด ( การกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ นายจ้างสามารถสลับสับเปลี่ยนวันหยุดได้หรือไม่ หากลูกจ้างจะขอรับเป็นเงินทดแทนวัดหยุดพักผ่อนประจำปีจะทำได้หรือไม่ ลูกจ้างจะเรียกร้องให้นำวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่คงเหลือไปรวมกับปีถัดไปได้หรือไม่ )
  • สวัสดิการ ( เทคนิคการกำหนดสวัสดิการให้สอดคล้องกับกฏหมาย เทคนิคการกำหนดสวัสดิการให้ตรงใจพนักงาน นายจ้างสามารถยก ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสวัสดิการได้หรือไม่ )
  • การลงโทษทางวินัย ( ขั้นตอนการลงโทษทางวินัย เทคนิคการสอบสวนทางวินัยและการออกหนังสือเตือนให้ครอบคลุมข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน เทคนิคในการรับมือลูกจ้างที่ไม่ยอมรับการออกหนังสือเตือน เทคนิควิธีการในการกำหนดเงื่อนเวลาและการจ่ายค่าจ้างสุดท้าย ในการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน อันเนื่องมาจากการปลดออกหรือไล่ออก)
  • การเลิกจ้าง ค่าชดเชย ( เทคนิคในการเลิกจ้างโดยไม่ขัดต่อข้อกฏหมาย การจ่ายค่าชดเชยที่ถูกต้องจำนวนเงิน รายได้ส่วนไหนบ้างที่สามารถนำมาคำนวณเป็นเงินชดเชยได้ เทคนิคการเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอันเนื่องมาจากพนักงานกระทำผิด การจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ )
  • เกษียณอายุการทำงาน ( นายจ้างสามารถปรับเปลี่ยนอายุการเกษียณของลูกจ้างได้หรือไม่ เมื่อครบอายุการเกษียณนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างหรือไม่ หากนายจ้างจ่ายเงินชดเชยกรณีเกษียณอายุการทำงานไปแล้ว นายจ้างจะรับกลับเข้าทำงานได้หรือไม่ )
  • เทคนิคการบริหารทรัพยากรบุคคลไม่ให้ขัดต่อกฏหมายคุ้มครองแรงงาน ภายใต้ความแตกต่างของ CEO ในแต่ละองค์กร
  • เทคนิคการบริหารงานทรัพยากรบุคคลเพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งแรงงานไปสู่กระบวนการศาล
  • กระบวนการนำไปสู่การพิจารณาคดีในศาลแรงงาน
  • หนังสือรับรองการทำงาน เอกสารแสดงรายละเอียดการจ่ายค่าจ้าง นายจ้างจะไม่ออกให้กับลูกจ้างได้หรือไม่
  • สรุปคำถามและคำตอบ


วิทยากร

อาจารย์กรณ์ ทองศรี

๐ ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต / ม.รามคำแหง

๐ ประกาศนียบัตร: Mini Master Of Management Program / NIDA

ประวัติการทำงาน

๐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กู๊ด เอ็มพลอยยี่ เซอร์วิสเซส จำกัด

๐ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล,บริษัท ไพลอน จำกัด (มหาชน)

๐ เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน


สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมบูเลอวาร์ด โฮเทล บางกอก สุขุมวิท 5 ( BTS นานา )

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

23 พฤษภาคม 2562 09.00 น. - 16.00 น.

จัดโดย

บริษัท ล็อคอินเทรนนิ่ง จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 089-7639805

ค่าธรรมเนียม (FEE)

4,000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 1265 ครั้ง