การถอดองค์ความรู้ที่เป็นแนวคิด
ประสบการณ์ หรือวิธีการทำงานของบุคคลต่างๆ เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับการจัดการความรู้ในองค์กร
เนื่องจากความรู้ที่แฝงเร้นนั้น ผ่านระยะเวลาของการพัฒนาการมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ปฏิบัติเองไม่สามารถจะบอกเล่าด้วยตนเองได้อย่างชัดเจน
ต้องใช้วิธีการตั้งคำถามที่มีความเป็นกระบวนการเพื่อเจาะลึกไปถึงวิธีคิด
ก่อนที่จะถึงวิธีการ จึงจะเข้าใจในวิธีปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ผู้ที่ทำการถอดองค์ความรู้ก็ต้องมีความสามารถในการตั้งคำถาม จับประเด็น และการวิเคราะห์ข้อมูล
โดยต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
จึงจะสามารถถอดองค์ความรู้ที่สำคัญและเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อไปได้
นอกจากนั้นยังต้องมีทักษะในการเขียนที่ดีเพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้เข้าใจง่าย สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนางานอื่นๆ ในองค์กรได้
ดังนั้นในเบื้องต้นผู้ถอดองค์ความรู้ต้องเข้าใจในหลักการ กระบวนการและการใช้เครื่องมือ รวมทั้งหลักการเขียนเบื้องต้นซึ่งจะช่วยให้การถอดองค์ความรู้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
วัตถุประสงค์
· เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถถอดองค์ความรู้อย่างมีกระบวนการ
· เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ในการถอดองค์ความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้
· เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการเขียนเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
วิธีการฝึกอบรม
· บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติ
ระยะเวลา : 2 วัน
รุ่น 1 วันที่21-22เมษายน2564
หัวข้อ
08.30-09.00น. ลงทะเบียน
09.00-16.00น.
· กระบวนการถอดองค์ความรู้
· เครื่องมือในการถอดองค์ความรู้
· เทคนิคการเขียนเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
รายละเอียดhttps://www.ftpi.or.th/event/45853
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
แผนกบริการฝึกอบรม สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ :0-2619-5500 ต่อ451-456
โทรสาร :0-2619-8098
อีเมล์ :[email protected]
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
ผู้บริหารและบุคลากรที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ในองค์กร
คุณสุรีพันธุ์ เสนานุช วิทยากรอิสระด้านการถอดบทเรียนและการเขียนบทความวิชาการ
อดีต ผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายวิจัย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประสบการณ์ งานวิจัยและบรรณาธิการต้นฉบับ หนังสือกรณีศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ขององค์กรที่ได้รับ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ TQA และ TQC,โครงการวิจัยการถอดบทเรียนการจัดการความรู้ กรมอนามัย,ผลงานด้านหนังสือ บทบรรณาธิการ และบทความใน วารสาร Productivity World สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จำนวน160บทความ,ผลงานเขียนหนังสือ Visionary Leadership กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์,ผลงานเขียนหนังสือ Tragedy of Lost โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ, Societal Responsibility กรณีศึกษาบริษัท สวิฟท์ จำกัด ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (งานเขียนร่วม) เป็นต้น