เจาะประเด็นสวัสดิการพนักงานและสิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคลากร

7 ตุลาคม 2566

หลักสูตร เจาะประเด็นสวัสดิการพนักงานและสิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคลากร


การบริหารค่าจ้างและสวัสดิการ เป็นวิธีการหนึ่งที่สถานประกอบการต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องมือลำดับต้น ๆ ในการจูงใจ และตอบแทนพนักงาน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด ให้ปฏิบัติงาน เป็นกำลังสำคัญ และอยู่กับองค์กร ได้นาน ๆ ดังนั้นการบริหารจัดการด้านภาษีอากร เรื่องบุคลากร สวัสดิการ เป็นเรื่องจำเป็น ที่องค์กรจะมองข้ามเสียมิได้ ซึ่งการที่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถูกต้องด้านภาษีฯ จะทำให้องค์กร สามารถกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง แผนงาน งบประมาณ และวางแผนค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน รวมทั้งการเสียภาษี อย่างถูกต้อง ส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็นGood Governanceได้เป็นอย่างดี

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 

1.เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการของกฎหมาย และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ด้านภาษีบุคลากร และสวัสดิการพนักงาน

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ เข้าใจและรับทราบกฎหมายใหม่ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

3.เพื่อให้มี่ความรู้ความเข้าใจ สามารถคำนวณและยื่นรายการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าอบรม

ผู้เข้าสัมมนาเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายบุคคล และผู้สนใจทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านบัญชี

ภาพรวมปัญหาด้านบุคลากรและสวัสดิการพนักงาน

1.ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานหรือไม่

2.ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัทได้หรือไม่

3.บริษัทสามารถขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

4.การให้สวัสดิการพนักงานมีภาษีขายหรือไม่

5.คำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่อย่างไร

6.ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ และต้องหักอย่างไร

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการสัมมนา

1.ทำความเข้าใจและก้าวทันหลักปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีด้านบุคลากรและสวัสดิการพนักงาน

2.ศึกษาปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับภาษีด้านสวัสดิการพนักงานที่นักบัญชีปฏิบัติผิดพลาดอยู่เสมอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาที่ควรระมัดระวัง

3.ได้เทคนิคการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติและกลยุทธ์การขจัดปัญหาภาษีด้านบุคลากรและสวัสดิการพนักงานจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง 


ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ

1. รูปแบบการบริหารงานบุคคลกับสวัสดิการแรงงาน      

2. การจัดสวัสดิการภายในองค์กร:สวัสดิการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง วันหยุด
การศึกษา เศรษฐกิจ นันทนาการ การให้คำปรึกษา การจัดโบนัสและสวัสดิการ ฯลฯ

3. สุดยอดประเด็นภาษี..บุคลากรและสวัสดิการพนักงาน

   (1)  ความสัมพันธ์ระหว่าง สิทธิประโยชน์ของบุคลากรและพนักงาน(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
& รายจ่ายของกิจการ(ภาษีเงินได้นิติบุคคล)&ภาษีซื้อที่จ่ายเนื่องจากการจัดสวัสดิการ(ภาษีมูลค่าเพิ่ม) 

   (2)  ประโยชน์เพิ่ม..คืออะไร? เป็นเงินได้พึงประเมินหรือไม่? ต้องรวมคำนวณกับเงินเดือนหรือไม่? คำนวณประโยชน์เพิ่มอย่างไร? 

   (3)  คลี่คลายประเด็น..เสิร์ฟร้อนๆ กับภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้พนักงานอยู่บ้านโดยไม่เสียค่าเช่า /
ให้พนักงานได้ใช้น้ำประปาและไฟฟ้าของนายจ้าง / จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงานและกรรมการ /จัดอาหารให้พนักงานระหว่างเวลาทำงาน / จัดซื้อ
Notebookและโทรศัพท์มือถือ
I-Phoneให้พนักงานและกรรมการ / จ่ายเงินช่วยการศึกษาบุตรพนักงาน / จัดท่องเที่ยวทัศนาจรให้พนักงาน /ให้พนักงานและกรรมการไปดูงานต่างประเทศ / มอบเงินรางวัลตอบแทนพนักงานที่ทำงานครบตามกำหนด /มอบของขวัญวันเกิดให้พนักงาน / มอบเงินช่วยงานศพ ช่วยงานสมรส / จัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กเลี้ยงดูบุตรของพนักงาน / จัดการศึกษานอกเวลาให้พนักงาน / จัดสวัสดิการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อรถยนต์/ เงินทดแทน เงินชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายแรงงาน / เงินหรือผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าเดินทาง / ค่ารักษาพยาบาล / ค่าเครื่องแบบพนักงาน /แจกหุ้น
ขายหุ้นให้พนักงาน / ให้พนักงานหรือกรรมการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ
Sport ClubและMember Club /ให้ทุนพนักงานเรียนต่อในประเทศหรือต่างประเทศ / มอบของขวัญปีใหม่
ให้พนักงาน / มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้พนักงาน / เบี้ยขยันตอบแทนการทำงาน / เงินรางวัลในการปรับปรุงการทำงาน / ทำบุญปีใหม่ประจำปี / จัดรถรับส่งพนักงาน / จัดรถยนต์ประจำตำแหน่ง / ค่าจ้างเหมาพนักงานขับรถยนต์ผู้บริหาร / ตั้งกองทุนให้พนักงานกู้ยืมซื้อรถยนต์
โดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำ / ขายสินค้าต่ำกว่าทุนให้พนักงาน / ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน สำหรับรถยนต์ของพนักงานที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน และอื่นๆ อีกมากมาย

   (4)  นายจ้างจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างไร? ถึงจะถูกต้อง ไม่มีภาระทั้งนายจ้างและพนักงาน

        - จ่ายเท่ากันทุกเดือน ดูเหมือนง่าย แต่จริงหรือ

        - ไม่รู้ว่าต้องจะต้องจ่ายอีกเท่าไร และไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายอีกเมื่อไร แล้วจะหักกันอย่างไร

         -  จ่ายค่าล่วงเวลา ปรับเงินเดือน จ่ายโบนัส ต้องหักเพิ่มในเดือนไหน แล้วคำนวณอย่างไร

        - นายจ้างหักเกิน หรือไม่ต้องหักแต่ถูกหัก แล้วพนักงานจะทำอย่างไร แล้วใครเป็นคนขอคืน

   (5)  ค่าลดหย่อน คืออะไร ลูกจ้าง (เจ้าของสิทธิ) และนายจ้าง (ผู้มีหน้าที่หักภาษี) เข้าใจดีแล้วหรือยัง

        - บุตรเธอ บุตรฉัน บุตรเรา แล้วไหนจะบุตรบุญธรรม เฮ้อ!! ดูวุ่นวาย แต่ไม่ว้าวุ่นถ้าเข้าใจ

        - ประกันชีวิตไม่พอ ต้องเพิ่มประกันชีวิตแบบบำนาญด้วย ถึงจะเจ๋ง

         - ประกันสุขภาพ ซื้ออย่างไร ซื้อให้ใคร หักได้ หักไม่ได้       

        - กู้กับใคร? กู้อย่างไร? ถึงจะหักดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้

        - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม RMF LTFมากมายหลายกอง..แต่จัดหนัก!!

        - เลี้ยงดูบิดามารดา "กตัญญู" ที่ไม่เคยเสียเปล่า

        - "ผู้พิการ" "ผู้ทุพพลภาพ" หนึ่งในหัวใจการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม

         -  บริจาคอย่างไร? นอกจากได้บุญ แล้วยังได้ชื่อว่า "ฉลาด"

   (6) สุดยอด!!!...เคล็ด (ไม่) ลับ ...คำนวณเงินได้เพราะเหตุออกจากงาน...แบบชิวๆ

         -  เงินได้เพราะเหตุออกจากงาน มีกี่ประเภท แบ่งกันอย่างไร

         - ได้รับเงินก้อนจากนายจ้าง แต่จ่ายปีถัดจากปีที่ออกจากงานจะต้องหรือควรต้องเสียภาษีอย่างไร

         -  ควรจะแยกคำนวณหรือจะรวมคำนวณ จะรู้ได้อย่างไร

- ผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินชดเชยต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้ายกเว้นจะยกเว้นได้เท่าไร      

 4. ตอบปัญหาคาใจ เพื่อไม่ให้ค้างคา ก่อนบอกลา กลับไปทำงานพร้อมกับความมั่นใจ!!


หมายเหตุ

-อัตราค่าสัมมนา ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม /นิติบุคคลสามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย3%ได้

-ราคารวม เอกสารการอบรม / อาหารว่างและอาหารกลางวันตลอดหลักสูตร (สำหรับหลักสูตรOn-Site)

-วุฒิบัตรมอบให้ พร้อมไฟล์เอกสาร

 

*****ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสัมมนา สามารถลดหย่อนภาษีได้200% *****

 

**********ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร.063-846-6405

Line : chosenthebest /Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: [email protected]/www.chosenthebest.com

วิทยากร

อาจารย์ศุภชัย บำรุงศรี



สถานที่อบรม (VENUE)

รูปแบบการสัมมนาเป็นแบบผสมระหว่าง Onsite และ Online

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

7 ตุลาคม 2566 09.00-16.00 น.

จัดโดย

โชเซ่น เดอะ เบสท์
เบอร์ติดต่อ : 0638466405

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3500 และ 2900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 222 ครั้ง