หลักสูตร ภาษีที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายบัญชีต้องรู้

13 กรกฎาคม 2567

หลักการและเหตุผล

การดำเนินธุรกิจต้องมีความเข้าใจในเรื่องภาษีอากร จึงจะทำให้ไม่มีความเสี่ยงในการกระทำผิดตามกฎหมายภาษีอากร ซึ่งผู้ประกอบการจำนวนมากถูกประเมินภาษี เสียเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนเพิ่มในการดำเนินงาน ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของกิจการเล็งเห็นถึงความสำคัญความในการให้ความรู้ เข้าใจ ทางด้านภาษีมากขึ้น  ให้กับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของพนักงาน และสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาบุคคลากรเพื่อเป็นการวางแผนภาษี และ รักษาผลประโยชน์ทางด้านภาษีให้กับพนักงาน และองค์กร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

วัตถุประสงค์

·      เพื่อให้เข้าใจและทราบถึงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินได้ แต่ละประเภท ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย

·      เพื่อความเข้าใจและทราบถึงวิธีการจัดทำเอกสารการจ่ายเงินให้กับพนักงานที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีเงินที่ถูกต้อง

 

หัวข้อการสัมมนา

1. ภาษีที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายบัญชีต้องรู้

- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

- กฎหมายใหม่ที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายบัญชีไม่ควรพลาด

2. เมื่อยื่นแล้วสามารถแก้ไขได้หรือไม่

- ลย.01

- กรณีพนักงานแจ้ง ลย.01 ผิด ใครต้องรับผิดชอบ

3. เกณฑ์การตรวจสอบของสรรพากรเกี่ยวกับประเภทรายได้ของพนักงานลูกจ้าง

4. ประเด็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างที่ฝ่ายบุคคลและผู้บริหารต้องรู้เพราะมักถูกสรรพากรตรวจสอบ

5. เขียนสวัสดิการอย่างไรให้บริษัทลงรายจ่ายได้ และไม่เป็นรายได้พนักงาน

6. สวัสดิการที่ให้พนักงานจะเลือกให้แค่บางปีได้หรือไม่

7. Case Studiesทางภาษีที่เกี่ยวกับการให้สวัสดิการพนักงานที่สรรพากรมักตรวจสอบพร้อมวิธีการแก้ปัญหา

- การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษพนักงาน,เบี้ยขยัน,ค่าล่วงเวลา,โบนัส 

- เงินประจําตําแหน่งผู้บริหารอยู่ในโครงสร้างเงินเดือนหรือไม่

- ค่าคอมมิชชั่นมีหลักเกณฑ์การจ่ายอย่างไร 

- ค่าครองชีพมีเงื่อนไขการจ่ายอยู่ที่เหตุผลใด

- ค่าจ้างคนขับรถต้องจ่ายทุกครั้ง?จ่ายเป็นรายเดือนได้หรือไม่ อย่างไร 

- เบี้ยเลี้ยงจ่ายให้กับพนักงานฝ่ายไหน อัตราใด

- เบี้ยเลี้ยงจ่ายให้กับพนักงานฝ่ายไหน อัตราใด

- ค่าน้ำมันรถส่วนตัวของพนักงาน มีการอนุมัติและผ่านการตรวจสภาพหรือไม่

 จ่ายตามจริงหรือเหมาจ่ายรายเดือน

- จ่ายค่าโทรศัพท์ให้พนักงาน

- โบนัสเป็นลักษณะผันแปรหรือคงที่ และจ่ายจากยอดขายหรือผลกําไร

- ค่ารักษาพยาบาลให้ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกด้วย หรือไม่

- สนับสนุนพนักงานWFH (Work From Home)จัดหาอุปกรณ์ อินเทอร์เน็ต ระบบVPN,

 โทรฟรี,ซอฟต์แวร์ประชุมออนไลน์พิสูจน์การใช้งานอย่างไร

- เปลี่ยนSmart Phoneหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทุกปี

- จัดอบรมพนักงานPublic/In-House Trainingทั้งออนไลน์ และออฟไลน์

  ต้องทํารายงานอย่างไร กรณีใดต้องบันทึกVDO

- การประกันภัยกลุ่มพนักงาน ระบุผู้ใดเป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์

- ซื้อประกันสุขภาพ/ประกันโรคติดต่อให้พนักงาน หรือให้พนักงานซื้อแล้วนํามาเบิกบริษัท

- ทุนการศึกษาของพนักงานต้องไปเรียนในด้านใด

- ทุนการศึกษาบุตรของพนักงานมีการกําหนดระดับการศึกษาหรือไม่

- ช่วยเหลืองานสมรส ต้องมีทะเบียนสมรสหรือไม่

- ช่วยเหลืองานศพ ต้องจัดทําพวงหรีดและวางไว้ ณ จุดใด

- ออกภาษีให้พนักงานต้องกําหนดในระเบียบหรือหนังสือสัญญา

- การเลี้ยงอาหารกลางวันและเครื่องดื่มต่างจากการให้น้ําดื่มอย่างไร

- การจัดกิจกรรมตามประเพณี,ทําบุญประจําปี, แข่งขันกีฬาสี,จัดงานปีใหม่

 ระบุเหตุผลในการจัดอย่างไร

- การใช้รถประจําตําแหน่งของผู้บริหารหลังเลิกงานแล้วจอดที่ใด 

- รถรับ-ส่งพนักงานต่างจากรถรับ-ส่งนักเรียนอย่างไร

- ให้พนักงานกู้ยืมเงินคิดดอกเบี้ยต่ํา หรือ 0%

- ให้หรือขายหุ้นแก่พนักงานในราคาต่ํากว่าราคาตลาด

- ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดสิ่งอํานวยความสะดวกแก่ลูกจ้างที่เป็นคนพิการ

8. การคํานวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องระมัดระวัง

- เริ่มทํางานปีแรก

- ปรับเงินเดือนระหว่างปี

- เกษียณอายุ

- ลาออกจากงาน

- เลิกจ้าง

- ลาออกจากกองทุน

9. กรณีจ้างOut sourceต้องคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

10. เมื่อมีการทุจริตจะบังคับให้ชดใช้จากเงินเดือนได้หรือไม่ ในทางภาษีจะคํานวณอย่างไร

11. ตรวจสอบข้อบังคับการทํางาน และระเบียบสวัสดิการพนักงาน

12. ประเด็นสวัสดิการที่มีปัญหากับประกันสังคม

13. การลงรายจ่ายค่าอบรม 200% ต้องทําอย่างไร


วิทยากร

อาจารย์พรณรัตน์ ธนินทร์ณพงศ์



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรม แรมแบรนท์ ซอยสุขุมวิท 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

13 กรกฎาคม 2567 09.00-16.00

จัดโดย

Hrdzenter Training
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554, 090-645-0992

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 56 ครั้ง