การวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA) ถือว่าเป็นเทคนิคที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการยืนยันผลการตรวจสอบคุณภาพ ที่มีการนำมาใช้ประกอบการจัดทำระบบคุณภาพในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานที่มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ ควบคุม การยืนยันผลการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานที่ผลิตขึ้น ถึงแม้ว่าระบบการผลิต จะมีความถูกต้องแต่ถ้าระบบ การวัดมีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วก็ อาจส่งผลต่อการตัดสินใจ ที่คลาดเคลื่อนได้ ถ้าหากระบบการวัดขาดความถูกต้อง (Accuracy) และขาดความแม่นยำ (Precision) ในการใช้งาน อันจะทำให้เกิดการขาดความ เชื่อมั่นจากทางลูกค้าได้ในระยะยาวและนำไปสู่การปรับปรุงเพื่อลดค่าความผันแปรต่างๆ ให้มีความสอดคล้องตามเกณฑ์ ที่ได้กำหนดไว้ต่อไป
ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมีการประยุกต์เครื่องมือและเทคนิคด้านคุณภาพในระบบการวัดให้มีความเที่ยงตรงและความแม่นยำซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจการตรวจสอบชิ้นงานระบบการวัดจึงถือเป็นระบบพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมและต้องลดความผันแปรในระบบการวัดซึ่งจำเป็นในช่วงของการทดลองผลิตและการผลิต จริงซึ่งมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากขององค์กรและทีมงานผู้รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานโดยละเอียดและตามขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ที่ถูกต้องให้สอดคล้องกำหนดส่งมอบได้ระบุไว้ จะสามารถทำให้ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น รวมถึงสามารถวางแผนการผลิตจากงานที่เป็นมาตรฐานได้อย่างถูกต้องและอย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์ / ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจในหลักการวิเคราะห์ระบบการวัดตามคำแนะนำของ AIAGที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลความสามรถของการวัดของเครื่องมือวัด, อุปกรณ์ ตลอดจนตัวของพนักงานที่ทำการเก็บค่าข้อมูลในองค์กรได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจในวิธีการวิเคราะห์ค่าคุณสมบัติด้านต่างๆ และเทคนิคต่อคุณลักษณะทางสถิติของระบบการวัด
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงการเปลี่ยนแปลงจากการประยุกต์ใช้ในคู่มือ MSAจาก3rd Editionมาเป็น4th Edition ได้มีอย่างประสิทธิภาพ
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบปัญหา ข้อควรระวัง และ อุปสรรคในการจัดวางระบบจากมุมมองการตรวจประเมิน
หัวข้อการอบรม /สัมมนา
1. แนวคิดและความสำคัญด้านการวัด ในมุมมองของข้อกำหนดในระบบISO/IATF 16949:2016
2. พื้นฐานความรู้ทางด้านสถิติเบื้องต้นที่นำมาใช้กับการคำนวณในMSA
3. หลักการของMSAและคุณสมบัติด้านการแยกแยะของระบบการวัด (Measurement System Discrimination)
4. วัตถุประสงค์และขอบเขตของMSA ที่เกี่ยวกับหลักการด้าน Calibration
5. เนื้อหาการเปลี่ยนแปลงจากการประยุกต์ใช้ในคู่มือMSAจาก3rd Editionสู่ฉบับใหม่ (4th Edition)
6. ขั้นตอนและการวางแผนในการคำนวณและการวิเคราะห์ระบบการวัด
7. เทคนิควิธีการวิเคราะห์และการอ่านค่าสำหรับเครื่องมือวัดที่สามารถอ่านค่าออกมาในเชิงของตัวเลขได้ (Variable Measurement System)
· Bias , Stability , Linearity
· Gauge Repeatability & Reproducibility(GR&R)
8. วิธีการวิเคราะห์และการอ่านค่าความแม่นยำของระบบการวัด Repeatability & Reproducibility
9. เทคนิควิธีการวิเคราะห์และการอ่านค่าสำหรับเครื่องมือวัดที่ไม่สามารถอ่านค่าออกมาในเชิงของตัวเลขได้ (Attribute Measurement System)
10. เทคนิคการตีความและ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับMSAซึ่งพบบ่อยในการตรวจประเมิน
11. กรณีศึกษากิจกรรมการวิเคราะห์ระบบการวัด
12. สรุปการเรียนรู้และถามตอบ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
ผู้ควรเข้ารับการอบรม • บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงองค์กร ป้องกันปัญหาให้กับ องค์กร รวมทั้ง วิศวกร หัวหน้างาน ในหน่วยงานผลิต หน่วยงานออกแบบ หน่วยงานคุณภาพ หน่วย งานการตลาด ทีมงาน New Model ของแต่บริษัท
อ.โยธิน ศรีดารา