การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

9 เมษายน 2565

หลักสูตร การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)  

หลักการและเหตุผล

Total Productive MaintenanceหรือTPMคือ รูปแบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล TPMเป็นปรัชญาหรือเครื่องมือในการบริหารการผลิต ขึ้นอยู่กับลักษณะและขอบเขตของการนำไปใช้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ขององค์กรที่แสดงออกมาในรูปของคุณภาพของสินค้า การลดและควบคุมต้นทุน การส่งมอบที่ตรงเวลา การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เป็นการบำรุงรักษาในเชิงบริหารจัดการ (Maintenance Management)โดยการบริหารจัดการดังกล่าวเป็นการบริหารจัดการเพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบในลักษณะกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านกิจกรรมหลักทั้ง 8หรือเรียกว่าTPM 8 Pillarsซึ่งจะทำให้ทุกคนมีหน้าที่ มีลำดับ และมีระดับของการเข้ามามีส่วนร่วม โดยมีเป้าหมายทางเทคนิคร่วมกันอยู่ที่Overall Equipment EffectivenessหรือOEEนอกจากนั้นยังมีเป้าหมายในเชิงพฤติกรรมของบุคลากรที่ต้องการการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุง

         โดยเฉพาะเสา Autonomous MaintenanceหรือเสาAMเป็นเสาหลักที่สำคัญอย่างยิ่งของ TPMที่ฝ่ายผลิตและพนักงานผู้ใช้เครื่องต้องตระหนักและต้องผ่านการฝึกอบรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องและสอดประสานกับเสาหลักอื่นของ TPM Autonomous Maintenanceหรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่าJishu Hozen (JH)เป็นโครงสร้างของการเพิ่มทักษะ ความสามารถของพนักงานให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการ และการพัฒนาเครื่องมือ ตลอดจนกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป้าหมายที่สำคัญคือการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในเชิงรุกมากขึ้นในการลดหรือกำจัดการหยุดการทำงานของเครื่องจักรเพื่อซ่อมแซมระหว่างการผลิต รวมถึงการลดของเสียและความเสียหายของเครื่องจักร ด้วยการทำความสะอาด ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำมันหล่อลื่นอย่างเข้มงวด(Cleaning, Lubrication inspection & tightening: C-L-I-T)เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

วัตถุประสงค์

1.     ลดความสูญเสียของเวลาการหยุดเครื่องจักรในการบำรุงรักษาเครื่องจักรทั้งตามแผนหรือนอกแผนซ่อมบำรุงตามระยะเวลาที่กำหนด

2.     เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถวัดผลได้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง

3.     สร้างการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กรในการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ

4.     เพื่อทราบขั้นตอนการทำ Jishu Hozen & Autonomous Maintenance

5.     เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดของเสีย ลดต้นทุนการบำรุงรักษาเครื่องจักร ลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ลดระยะเวลาการผลิต เพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานผลิต และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น

6.     เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต โดยสามารถผลิตและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพและทันตามที่ลูกค้าต้องการอย่างต่อเนื่อง

7.     สร้างคุณค่า (Values) ในกระบวนผลิตและการบำรุงรักษาเครื่องจักร รวมถึงการบริการจัดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผนการผลิต การตรวจสอบ การควบคุมและติดตามได้มากขึ้น

8.     เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในทุกระดับในการวางแผนติดตามโครงการต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์ และสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด

หัวข้อเนื้อหา

1.     ความรู้เบื่องต้น หลักการ ความหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขต และประโยชน์ของTPM

2.     8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการTPM (8เสาหลักของ TPM)

3.     การวัดประสิทธิภาพของงานซ่อมบำรุง (Maintenance Function)

4.     การวัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness: OEE)

5.     ขั้นตอนการทำ Jishu Hozen & Autonomous Maintenance (Jishu Hozen Steps)

-        5.0 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม

-        5.1.การทำความสะอาดขึ้นพื้นฐาน

-        5.2. การกำจัดจุดยากลำบากและแหล่งกำเนิดปัญหา

-        5.3. การจัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น

-        5.4. การอบรม ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับระบบและกลไกต่าง ๆ ของเครื่องจักร

-        5.5. การตรวจสอบเชิงลึกด้วยตนเอง

-        5.6. การจัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ที่ครบถ้วนสมบูรณ์

-        5.7. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

6.     ความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ 6 ประการของเครื่องจักร(Six Big Losses)

7.     การวัดค่าเวลาความสูญเสียของเครื่องจักร (Loss time Measurement Method)

8.     เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการทำTPM (5ส., Kaizen, Lean Manufacturing, TQM, QC 7 Tools, Poka Yoke, A3 , Visual Control)

9.      กรณีศึกษาการทำTPM ที่ประสบความสำเร็จ(Case Study)

ระยะเวลาอบรม         1 วัน จำนวน 6 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.

รูปแบบการฝึกอบรม    การบรรยาย,อภิปรายเชิงปฏิบัติการ,ให้คำปรึกษา,กรณีศึกษา, 

วิทยากร อ.อนันต์ ดีโรจนวงศ์ ตำแหน่ง - ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมด้านLean Production & Logisticsกรม

                                                ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

                                   - ที่ปรึกษาเครือข่าย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น 

                                   - ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและLogistics & Supply Chain  

                                      Managementสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน

                                   - อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์

                                     มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น,ม.ศรี     

                                     ปทุม, ม.ธุรกิจบัณฑิต       

                                   - ที่ปรึกษาสถานประกอบการดีเด่นสาขาการจัดการโลจิสติกส์   

                                     โครงการ OPOAI กระทรวงอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2557

หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

**********ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร.063-846-6405

Line : chosenthebest

E-mail: [email protected]www.chosenthebest.com

วิทยากร

อ.อนันต์ ดีโรจนวงศ์



สถานที่อบรม (VENUE)

บรรยายออนไลน์ Zoom

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

9 เมษายน 2565 09.00-16.00

จัดโดย

โชเซ่น เดอะ เบสท์
เบอร์ติดต่อ : 0638466405

ค่าธรรมเนียม (FEE)

2500/ท่าน สมัคร4 จ่าย3 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 1179 ครั้ง