ในการบริหารงานด้านโลจิสติกส์ ประเด็นหนึ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณา คือ สินค้าคงคลัง (Inventory)บางครั้งเรียกว่าพัสดุคงคลัง หรือ สต๊อก หมายถึงสิ่งของที่จัดเก็บไว้ในคลังสินค้า (Warehouse)ซึ่งเรื่องการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)เป็นศาสตร์วิชาที่ว่าด้วยการบริหารของที่อยู่ในคลัง ให้เหมาะสม มีต้นทุนที่เหมาะสม มีปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป
เป็นไม่ง่ายนัก หากจะทำให้ผู้ที่ไม่เคยเรียน เข้าใจเรื่องการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)ให้เข้าใจได้ภายใน1วัน เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาด้านการคำนวณ ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษา ทำความเข้าใจ แต่หลักสูตรนี้ พยายามเน้นสอนวิชาการบริหารสินค้าคงคลัง ในแบบฉบับที่ผู้เข้ารับการอบรมทุกระดับเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่บรรยายเพียงทฤษฎี แต่เป็นการบรรยายทฤษฎีก่อนแล้วค่อยแปลงทฤษฎีที่ยาก สรุปรวบยอดให้เข้าใจง่ายขึ้น มีการยกตัวอย่าง การนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานจริงทั้งในระดับปฏิบัติการถึงระดับบริหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการบริหารสินค้าคลังคลัง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงได้
หัวข้อฝึกอบรม
1.พื้นฐานการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง
· กิจกรรม เพื่อปูพื้นฐานระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และความเกี่ยวโยงของสินค้าคงคลังที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ
· ความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องบริหารสินค้าคงคลัง
· ระบบการบริหารคลังสินค้า กับ บริหารสินค้าคงคลัง
· ประเภทของสินค้าคงคลัง เช่น ทำความเข้าใจว่า อะไหล่/ Spare Partคือ สินค้าคงคลังที่ต้องควบคุมและบริหารจัดการ
· การวิเคราะห์ต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง
2.การลำดับความสำคัญของสินค้าคงคงคลัง
· การวิเคราะห์ความสำคัญด้วยแนวคิดABC Analysis
· วิเคราะห์ด้านความสำคัญกับการผลิต (VED Analysis)
· วิเคราะห์ด้านความถี่ในการใช้งาน (FSN Analysis)
· วิเคราะห์ด้านราคา (HML Analysis)
· วิเคราะห์ด้านระยะเวลาในการส่งมอบวัสดุ (SDE Anlysis)
3.การวางแผนและการคำนวณสินค้าคงคลัง
· เทคนิคการพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting Techniques)
· จุดสั่งซื้อ (Re-Oder Point : ROP)และการนำไปใช้
· ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity : EOQ)ที่ควรนำมาใช้ กับ ไม่ควรนำมาใช้
· ค่าเผื่อเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock : SS)เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม
· กลยุทธิ์การลดสต๊อก แบบเข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ศาสตร์การคำนวณขั้นสูง
4.การพัฒนาและปรับปรุง
· ดัชนีชี้วัด (KPIs)ในการบริหารสินค้าคงคลัง และการเลือกไปใช้อย่างเหมาะสม
· เครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและให้ทุกคนมีส่วนร่วม
· กรณีศึกษา
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม
ผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือผู้ที่สนใจทั่วไป ไม่จำเป็นต้องทำงานในสายงานบริหารสินค้าคงคลังหรือคลังสินค้า
วิธีการอบรม
กิจกรรม ร่วมแสดงความคิดเห็น ถามตอบ ประกอบการบรรยาย
วิทยากร
ศราวุธ ไชยธงรัตน์ (อ.ต้น)
วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ), อส.ม. (การจัดการอุตสาหกรรม,การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน) ประสบการณ์Purchasing Manager, Production Planning & Warehouse Manager, Engineering Manager, Senior Logistics Manager,วิทยากร ที่ปรึกษา ด้านการจัดการโลจิสติกส์ การบริหารการผลิต
วิทยากร
ศราวุธ ไชยธงรัตน์ (อ.ต้น)
วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ), อส.ม. (การจัดการอุตสาหกรรม,การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน) ประสบการณ์Purchasing Manager, Production Planning & Warehouse Manager, Engineering Manager, Senior Logistics Manager,วิทยากร ที่ปรึกษา ด้านการจัดการโลจิสติกส์ การบริหารการผลิต